แรงบันดาลใจในการออกแบบ พระพุทธมรรคสมังคีนาคปรก (พระพุทธมุจจลินท์ (นาคปรก)
อัพเดทล่าสุด: 9 ก.พ. 2025
150 ผู้เข้าชม
"ที่มาที่ไปและแรงบันดาลใจในการออกแบบ พระพุทธมรรคสมังคีนาคปรก"
จิต-ตระ-ธานี
คตินิยมในการสร้างพระปางนาคปรก มีมาแต่โบราณ โดยนำเนื้อหามาจากพุทธประวัติในกาลที่ พระสมณโคดมเพิ่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใหม่ๆ พระองค์ได้เสด็จแปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุตติสุขตาม โคนไม้ต่างๆ เป็นเวลา ๗ วัน ในแต่ละสัปดาห์ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นศรีมหาโพธิ์มากนัก โดยในสัปดาห์ที่ ๖ ขณะที่พระพุทธองค์เสด็จประทับใต้ร่มไม้มุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนองตลอด ๗ วัน พญานาคชื่อ มุจลินท์ ผู้เป็น ราชาแห่งนาค ได้ขึ้นจากบาดาลที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆ เลื้อยเข้าไปขดเป็นวงรอบพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปรกเหนือพระพุทธองค์ เพื่อป้องกันมิให้ลมหนาวและสายฝนสาดกระเซ็นมาต้องพระ วรกาย ถวายเป็นพุทธบูชา
จิต-ตระ-ธานี
คตินิยมในการสร้างพระปางนาคปรก มีมาแต่โบราณ โดยนำเนื้อหามาจากพุทธประวัติในกาลที่ พระสมณโคดมเพิ่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใหม่ๆ พระองค์ได้เสด็จแปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุตติสุขตาม โคนไม้ต่างๆ เป็นเวลา ๗ วัน ในแต่ละสัปดาห์ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นศรีมหาโพธิ์มากนัก โดยในสัปดาห์ที่ ๖ ขณะที่พระพุทธองค์เสด็จประทับใต้ร่มไม้มุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนองตลอด ๗ วัน พญานาคชื่อ มุจลินท์ ผู้เป็น ราชาแห่งนาค ได้ขึ้นจากบาดาลที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆ เลื้อยเข้าไปขดเป็นวงรอบพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปรกเหนือพระพุทธองค์ เพื่อป้องกันมิให้ลมหนาวและสายฝนสาดกระเซ็นมาต้องพระ วรกาย ถวายเป็นพุทธบูชา

การสร้างพระปางนาคปรกแต่โบราณ ตามคติความงามแบบอุดมคติ (idealism) จะเป็นลักษณะ ที่พระผู้มีพระภาคประทับเหนือขดนาค มีตั้งแต่ ๓ - ๗ ชั้น เสมือนเอาขดนาคแทนบัลลังก์ เพื่อเน้น ความสง่างาม แต่หากจะรักษาให้ตรงตามพุทธประวัติ จะเป็นในอีกลักษณะหนึ่ง คือขดนาคจะพัน วนรอบพระวรกาย จนบังเกือบมิดชิด เพื่อป้องกันลมและฝน จะเห็นได้เพียงพระเศียร พระศอ (คอ) และ พระอังสา (บ่า) เป็นอย่างมาก การสร้างพระปางนาคปรกในลักษณะนี้ เริ่มพบในสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา จนนักวิชาการทางโบราณคดีบางท่าน เรียกว่า เป็นการสร้างตามคติ ความงามแบบเหมือนจริง (realism) หรือสัจนิยม
การออกแบบ พระพุทธมรรคสมังคีนาคปรก ผมเลือกใช้คติความงามแบบสัจนิยม เพื่อให้ตรง ตามเนื้อหาในพุทธประวัติโดยออกแบบให้ขดนาควนรอบองค์พระ ๗ ชั้น แต่เนื่องด้วยองค์พระที่ ออกแบบมีขนาดค่อนข้างเล็ก ทำให้ขดนาคบดบังความงามขององค์พระภายใน จึงเห็นว่าควรเจาะลาย เกล็ดพญานาคให้มีลักษณะโปร่ง เพื่อให้มองลอดไปเห็นถึงองค์พระที่อยู่ภายในได้ แต่ถ้าเป็นองค์พระ ขนาดที่ย่อให้เล็กลงไปอีก และขนาดจิ๋ว ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสำหรับเป็นพระบูชาห้อยคอ ขดนาคจะไม่ วนรอบองค์พระ แต่จะปิดเพียงครึ่งพระชงฆ์ (เข้ง) แทน ซึ่งจะเหมาะกับพระที่มีขนาดเล็กๆ มากกว่า
อนึ่งพญานาคมุจลินท์ ผมได้ออกแบบให้เศียรนาคทั้ง ๗ ปรกโคงลง และไม่สำแดงอาการขูอย่าง วิสัยอสรพิษที่กำลังเผชิญภยันตราย แต่ให้แสดงกิริยาอันนอบน้อม ในการอุทิศร่างกายของตนเอง เพื่อ ป้องลมฝนให้แก่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นการถวายความเคารพอย่างสูง
คติโบราณของการสร้างพระปางนาคปรก ที่ผมเคยฟังผ่านการแสดงพระธรรมเทศนาของครูบา อาจารย์และได้นำมาใช้ในการออกแบบ พระพุทธมรรคสมังคีนาคปรก ครั้งนี้
ท่านให้ขอสังเกตว่า องค์พระด้านในจะแสดงปางสมาธิ หมายถึง สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นหนึ่งใน หนทางสู่การดับทุกข์ทั้ง ๘ โดยสัมมาสมาธิจะทำหน้าที่เป็นดั่งภาชนะ เพื่อรองรับคุณธรรมฝ่ายดีทั้งหลาย ให้มารวมตัวกันอยู่ที่เดียว คือรวมกันที่จิต เพื่อเข้าสู่กระบวนการทำลายล้างกิเลส
เศียรนาคทั้ง ๗ หมายถึงองค์มรรคที่เหลือ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ และ ๗. สัมมาสติ โดยเศียรนาคจะโน้มเข้าหาองค์พระ คือ สัมมาสมาธิ นั่นคือการประชุมขององค์มรรค เรียกว่า มรรคสมังคี (มรรค แปลว่า ทาง ส่วนคำว่า สมังคี เป็นการสะกดแบบบาลี ถ้าสะกดแบบสันสกฤต จะใช้คำว่า สามัคคี ทั้ง สมังคี และสามัคคี มีความหมายอย่างเดียวกัน) ด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิจิต จะตั้งมั่นอยู่ที่จิต ทำให้พลังของคุณงามความดีทั้งมวล ผนึกรวมกำลังกันได้ เพื่อทำลายล้างสังโยชน์ ด้วย การแหวกอาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ การแหวกอาสวกิเลสแต่ละครั้ง จะทำให้กิเลสถูกฆ่าบางส่วน แล้ว อาสวกิเลสที่เหลือก็จะกลับเข้ามาปกคลุมจิตอีก ต้องอาศัยพลังในการทำลายทั้งหมด ๔ ครั้ง (ทำลาย ครั้งแรกเป็น พระโสดาบัน ครั้งที่ ๒ เป็น พระสกทาคามี ครั้งที่ ๓ เป็น พระอนาคามี) จนถึงการ ทำลายครั้งสุดท้าย จิตจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากกองกิเลสทั้งปวง ด้วยความไม่ถือมั่น เป็นการทำลายกิเลสลงอย่างเด็ดขาด ราบคาบ โดยกิเลสจะไม่สามารถกลับมาย้อมจิตได้อีก
ต้นมุจลินท์ หรือต้นจิก ที่ประดับอยู่ด้านหลังพญานาค มีการปรับแบบอยู่หลายครั้ง โดยคราว แรก ผมออกแบบให้เป็นรูปใบไม้งอกออกตามกิ่งสาขา แต่รู้สึกยังไม่งามพอ จึงปรับให้เป็นลวดลาย กระหนกกาบขดเลื้อยไหวอยู่ภายในทรงโค้งมนรูปใบโพธิ์แทน แล้วให้ลำต้นปกลงที่ฐานแบบพัดยศ และ ได้ปรับช่อดอกจิก ซึ่งในธรรมชาติจะทิ้งช่อระย้าเป็นพู่สีแดงอมชมพูงดงาม ให้เป็นลายกระจังหอยตามกิ่ง แทน ส่วนองค์พระขนาดที่ย่อเล็กลงมา ต้นมุจลินท์จะถูกปรับให้ลวดลายมีขนาดเล็กลง เพื่อให้เหมาะ กับองค์พระที่มีขนาดเล็กๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง
การบูชาพระพิฆเนศเป็นพิธีกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีความเชื่อว่าจะช่วยขจัดอุปสรรค นำมาซึ่งความสำเร็จ และประทานพรให้สมปรารถนา ซึ่งมีวิธีการบูชาและข้อควรปฏิบัติที่ควรทราบดังนี้
17 ก.พ. 2025
พระคเณศ หรือพระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งคนไทยเคารพสักการะมาช้านาน ผ่านการส่งต่อวัฒนธรรมจากอินเดียมายังอุษาคเนย์หลายศตวรรษ แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เมื่อพิจารณาในความเป็นจริง คนไทยมักมีความเชื่อแบบพหุศาสนา นั่นคือการนับถือหลายศาสนาผสมผสานกัน ตามคติความเชื่อในสังคมของแต่ละยุค
9 ก.พ. 2025
หนึ่งในมหาเทพผู้ประทานพรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีผู้เคารพบูชามากที่สุดในโลก สู่การออกแบบพุทธศิลป์อันวิจิตรตระการตา โดย อ.ธานี ชินชูศักดิ์ (จิด.ตระ.ธานี) ศิลปินเจ้าของฉายา ลายเส้นไทยจตุรงคธาตุ ที่มีพลังเคลื่อนไหวดุจมีชีวิตรายได้สมทบทุนจัดสร้าง พระมหาจักรพรรดิโพธิสัตว์กวนอิม องค์ใหญ่ที่สุดในโลก จ.พระนครศรีอยุธยา
9 ก.พ. 2025