จิด.ตระ.ธานี กับแนวคิดเชิงพุทธ พระศรีนาฏยมหาคเณศ รุ่น กำเนิดอาริยธรรมศิลป
อัพเดทล่าสุด: 9 ก.พ. 2025
224 ผู้เข้าชม
จิด.ตระ.ธานี กับแนวคิดเชิงพุทธ
พระศรีนาฏยมหาคเณศ รุ่น กำเนิดอาริยธรรมศิลป
Shri Natya Maha Ganesh: The Origin of Ariyadhammasilp
พระคเณศ หรือพระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งคนไทยเคารพสักการะมาช้านาน ผ่านการส่งต่อวัฒนธรรมจากอินเดียมายังอุษาคเนย์หลายศตวรรษ แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เมื่อพิจารณาในความเป็นจริง คนไทยมักมีความเชื่อแบบพหุศาสนา นั่นคือการนับถือหลายศาสนาผสมผสานกัน ตามคติความเชื่อในสังคมของแต่ละยุค
ในหน่วยงานราชการ พระพิฆเนศยังถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากร โดยมีคติว่าเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา ผู้มีปัญญา และเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ผู้สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงและประทานผลแห่งความสำเร็จให้แก่ผู้ที่เคารพบูชาเขา
หากพูดถึงความสำเร็จในแบบพุทธ มีความสำเร็จประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและควรปฏิบัติตาม นั่นคือ "บุญฤทธิ์" ซึ่งหมายถึงความสำเร็จที่เกิดจากการกระทำของเราเอง
บุญ หมายถึง การกระทำความดีตามหลักคำสอนทางศาสนา
ฤทธิ์ หมายถึง แรงอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์
บุญฤทธิ์เกิดขึ้นได้จากการตั้งสัจจะ หรือ "สัจจกิริยา" คือการตั้งมั่นด้วยความเพียรในกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเราสามารถกระทำได้อย่างมั่นคงและไม่คลอนแคลน การตั้งจิตมั่นในระยะเวลาหนึ่งจะทำให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นพลังที่เกิดจากบุญฤทธิ์จากการสั่งสมบุญด้วยคุณงามความดี เช่น ถ้าเราตั้งใจว่าจะไม่ด่าหรือหยาบคายกับใครอีก หรือจะไม่ทะเลาะกับพ่อแม่อีก หรือจะเสียสละในการทำความสะอาดบ้านทุกวัน เป็นต้น
ตัวอย่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับสัจจกิริยามีในพุทธประวัติเรื่อง "พระองคุลีมาล" ซึ่งมีชื่อเดิมว่า "อหิงสกะ" หมายถึงการไม่เบียดเบียน
ในอดีตพระองคุลีมาลเคยเป็นมหาโจรที่ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัว เนื่องจากเขาไล่สังหารผู้คนและตัดนิ้วมือของเหยื่อมาทำพวงมาลัย แต่เมื่อพบพระพุทธเจ้า เขากลับรู้สึกเลื่อมใสและขอออกบวชเป็นพุทธสาวก
ในช่วงแรกที่บวช ชาวบ้านยังคงกลัวพระองคุลีมาลและไม่ยอมให้บิณฑบาต กระทั่งมีเหตุการณ์ที่เขาได้ตั้งสัจจกิริยากับหญิงสูงอายุว่า ตั้งแต่เราเกิดมา เราไม่เคยฆ่าสัตว์ เมื่อหญิงนั้นคลอดบุตรได้อย่างง่ายดาย ความกลัวของชาวบ้านก็หมดไป และหันกลับมานับถือเขา
ปัจจุบัน คาถา "องคุลีมาลปริตร" มักถูกใช้สวดเพื่อให้การคลอดบุตรเป็นไปอย่างราบรื่นและปกป้องอันตราย
เมื่อใดที่จิตตั้งมั่นด้วยสัจจะที่เป็นกุศล และประกอบด้วยความเพียรอย่างต่อเนื่อง จิตจะได้รับพลังที่เข้มแข็ง ซึ่งก่อให้เกิดฤทธิ์ที่เรียกว่า "บุญฤทธิ์" ซึ่งเป็นพลังที่เราสามารถสร้างขึ้นได้จากการกระทำของเราเอง
ชุดสําเร็จ ๔
ในครั้งแรกที่เริ่มคิดขึ้นมาเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเลข 4 ซึ่งลูกค้าไม่กล้าซื้อเพราะมีปัญหากับตัวอักษรจีนที่แปลว่าตาย จึงต้องตัดชุดเลข 4 ที่มีปัญหาออกไปทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในพุทธศาสนา เลข 4 มีความหมายดีมาก และยังเป็นลำดับตัวเลขที่แทนความหมายธรรมะในระดับสูง
อาทิ อริยสัจ 4 ที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา รวมถึงการตรัสรู้ของพระอริยบุคคลที่มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
คีย์เวิร์ดสำคัญที่เป็นหัวใจของความสำเร็จแบบพุทธ คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นธรรมะที่เป็นฐานของความสำเร็จทั้งปวง ประกอบด้วย
1. ฉันทะ (ความพอใจ) - ความยินดีและรักในสิ่งที่จะกระทำ
2. วิริยะ (ความเพียร) - ความขยันหมั่นเพียรและอดทน
3. จิตตะ (ความตั้งใจ) - การตั้งจิตในสิ่งที่จะกระทำ
4. วิมังสา (ความไตรตรอง) - การใช้ปัญญาพิจารณาและตรวจสอบ
อิทธิบาท 4 จึงเป็นทั้งเครื่องหมายและคุณธรรมที่นำไปสู่วัตถุประสงค์และความสำเร็จตามที่ตั้งใจ
อยากให้มีชุดสําเร็จ ๔ ในทุกชุดพระเครื่องที่เราสร้าง โดยต้องมีการจัดลำดับการยิงโคดไปถึงชุดเลข 4 ที่มีปัญหา ไม่ใช่เพียงชุดใดชุดหนึ่งเท่านั้น โดยพระในชุดสําเร็จ 4 จะมีเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์พิเศษเฉพาะเพิ่มเติม ซึ่งจะแตกต่างจากพระไล่ลำดับตัวเลขตามปกติ
สุดท้ายนี้ ความตั้งใจของเราคือการให้องค์พระเครื่องทุกชุดที่สร้างมีความหมายเชิงพุทธที่แท้จริงและถูกต้อง สอดแทรกไปให้มากที่สุดตามที่ประชุมจะพิจารณา
พระศรีนาฏยมหาคเณศ รุ่น กำเนิดอาริยธรรมศิลป
Shri Natya Maha Ganesh: The Origin of Ariyadhammasilp
พระคเณศ หรือพระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งคนไทยเคารพสักการะมาช้านาน ผ่านการส่งต่อวัฒนธรรมจากอินเดียมายังอุษาคเนย์หลายศตวรรษ แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เมื่อพิจารณาในความเป็นจริง คนไทยมักมีความเชื่อแบบพหุศาสนา นั่นคือการนับถือหลายศาสนาผสมผสานกัน ตามคติความเชื่อในสังคมของแต่ละยุค
ในหน่วยงานราชการ พระพิฆเนศยังถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากร โดยมีคติว่าเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา ผู้มีปัญญา และเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ผู้สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงและประทานผลแห่งความสำเร็จให้แก่ผู้ที่เคารพบูชาเขา
หากพูดถึงความสำเร็จในแบบพุทธ มีความสำเร็จประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและควรปฏิบัติตาม นั่นคือ "บุญฤทธิ์" ซึ่งหมายถึงความสำเร็จที่เกิดจากการกระทำของเราเอง
บุญ หมายถึง การกระทำความดีตามหลักคำสอนทางศาสนา
ฤทธิ์ หมายถึง แรงอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์
บุญฤทธิ์เกิดขึ้นได้จากการตั้งสัจจะ หรือ "สัจจกิริยา" คือการตั้งมั่นด้วยความเพียรในกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเราสามารถกระทำได้อย่างมั่นคงและไม่คลอนแคลน การตั้งจิตมั่นในระยะเวลาหนึ่งจะทำให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นพลังที่เกิดจากบุญฤทธิ์จากการสั่งสมบุญด้วยคุณงามความดี เช่น ถ้าเราตั้งใจว่าจะไม่ด่าหรือหยาบคายกับใครอีก หรือจะไม่ทะเลาะกับพ่อแม่อีก หรือจะเสียสละในการทำความสะอาดบ้านทุกวัน เป็นต้น
ตัวอย่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับสัจจกิริยามีในพุทธประวัติเรื่อง "พระองคุลีมาล" ซึ่งมีชื่อเดิมว่า "อหิงสกะ" หมายถึงการไม่เบียดเบียน
ในอดีตพระองคุลีมาลเคยเป็นมหาโจรที่ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัว เนื่องจากเขาไล่สังหารผู้คนและตัดนิ้วมือของเหยื่อมาทำพวงมาลัย แต่เมื่อพบพระพุทธเจ้า เขากลับรู้สึกเลื่อมใสและขอออกบวชเป็นพุทธสาวก
ในช่วงแรกที่บวช ชาวบ้านยังคงกลัวพระองคุลีมาลและไม่ยอมให้บิณฑบาต กระทั่งมีเหตุการณ์ที่เขาได้ตั้งสัจจกิริยากับหญิงสูงอายุว่า ตั้งแต่เราเกิดมา เราไม่เคยฆ่าสัตว์ เมื่อหญิงนั้นคลอดบุตรได้อย่างง่ายดาย ความกลัวของชาวบ้านก็หมดไป และหันกลับมานับถือเขา
ปัจจุบัน คาถา "องคุลีมาลปริตร" มักถูกใช้สวดเพื่อให้การคลอดบุตรเป็นไปอย่างราบรื่นและปกป้องอันตราย
เมื่อใดที่จิตตั้งมั่นด้วยสัจจะที่เป็นกุศล และประกอบด้วยความเพียรอย่างต่อเนื่อง จิตจะได้รับพลังที่เข้มแข็ง ซึ่งก่อให้เกิดฤทธิ์ที่เรียกว่า "บุญฤทธิ์" ซึ่งเป็นพลังที่เราสามารถสร้างขึ้นได้จากการกระทำของเราเอง
ชุดสําเร็จ ๔
ในครั้งแรกที่เริ่มคิดขึ้นมาเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเลข 4 ซึ่งลูกค้าไม่กล้าซื้อเพราะมีปัญหากับตัวอักษรจีนที่แปลว่าตาย จึงต้องตัดชุดเลข 4 ที่มีปัญหาออกไปทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในพุทธศาสนา เลข 4 มีความหมายดีมาก และยังเป็นลำดับตัวเลขที่แทนความหมายธรรมะในระดับสูง
อาทิ อริยสัจ 4 ที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา รวมถึงการตรัสรู้ของพระอริยบุคคลที่มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
คีย์เวิร์ดสำคัญที่เป็นหัวใจของความสำเร็จแบบพุทธ คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นธรรมะที่เป็นฐานของความสำเร็จทั้งปวง ประกอบด้วย
1. ฉันทะ (ความพอใจ) - ความยินดีและรักในสิ่งที่จะกระทำ
2. วิริยะ (ความเพียร) - ความขยันหมั่นเพียรและอดทน
3. จิตตะ (ความตั้งใจ) - การตั้งจิตในสิ่งที่จะกระทำ
4. วิมังสา (ความไตรตรอง) - การใช้ปัญญาพิจารณาและตรวจสอบ
อิทธิบาท 4 จึงเป็นทั้งเครื่องหมายและคุณธรรมที่นำไปสู่วัตถุประสงค์และความสำเร็จตามที่ตั้งใจ
อยากให้มีชุดสําเร็จ ๔ ในทุกชุดพระเครื่องที่เราสร้าง โดยต้องมีการจัดลำดับการยิงโคดไปถึงชุดเลข 4 ที่มีปัญหา ไม่ใช่เพียงชุดใดชุดหนึ่งเท่านั้น โดยพระในชุดสําเร็จ 4 จะมีเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์พิเศษเฉพาะเพิ่มเติม ซึ่งจะแตกต่างจากพระไล่ลำดับตัวเลขตามปกติ
สุดท้ายนี้ ความตั้งใจของเราคือการให้องค์พระเครื่องทุกชุดที่สร้างมีความหมายเชิงพุทธที่แท้จริงและถูกต้อง สอดแทรกไปให้มากที่สุดตามที่ประชุมจะพิจารณา
บทความที่เกี่ยวข้อง
การบูชาพระพิฆเนศเป็นพิธีกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีความเชื่อว่าจะช่วยขจัดอุปสรรค นำมาซึ่งความสำเร็จ และประทานพรให้สมปรารถนา ซึ่งมีวิธีการบูชาและข้อควรปฏิบัติที่ควรทราบดังนี้
17 ก.พ. 2025
หนึ่งในมหาเทพผู้ประทานพรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีผู้เคารพบูชามากที่สุดในโลก สู่การออกแบบพุทธศิลป์อันวิจิตรตระการตา โดย อ.ธานี ชินชูศักดิ์ (จิด.ตระ.ธานี) ศิลปินเจ้าของฉายา ลายเส้นไทยจตุรงคธาตุ ที่มีพลังเคลื่อนไหวดุจมีชีวิตรายได้สมทบทุนจัดสร้าง พระมหาจักรพรรดิโพธิสัตว์กวนอิม องค์ใหญ่ที่สุดในโลก จ.พระนครศรีอยุธยา
9 ก.พ. 2025
การออกแบบ พระพุทธมรรคสมังคีนาคปรก ผมเลือกใช้คติความงามแบบสัจนิยม เพื่อให้ตรง ตามเนื้อหาในพุทธประวัติโดยออกแบบให้ขดนาควนรอบองค์พระ ๗ ชั้น
25 ม.ค. 2025